Thursday, July 26, 2012

ข้อสอบ ภูมิศาสตร์ ม.1

รอโหลดนิดนึงนะคร้าบ


สังคมศึกษา ม.1

Thursday, July 19, 2012

การนับศักราชแบบไทย : ประวัติศาสตร์ ม.1

การนับศักราชแบบไทย



การนับศักราชแบบไทย มีดังนี้

๑.มหาศักราช(ม.ศ.)

มหาศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยผ่านทางพวกพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาพร้อมกับตำราโหราศาสตร์ ในประเทศไทยใช้มหาศักราชก่อนศักราชอื่นๆ ตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางพบหลักฐานที่ใช้มากในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย

๒.พุทธศักราช(พ.ศ.)

พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่ตนนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแต่มีวิธีการนับแตกต่างกันในไทยยึดหลักการนับ  พ.ศ.๑ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี ไทยใช้พุทธศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาบางรัชกาลใช้พุทธศักราชร่วมกับศักราชอื่นและใช้แพร่หลายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.จุลศักราช(จ.ศ.)
จุลศักราชเกิดขึ้นในประเทศพม่าภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย
และเริ่มใช้จุลศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและต่อมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยอยุธยาตอนปลายและต่อเนื่องมาจนถึง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบหลักฐานที่ใช้จุลศักราช เช่น พงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กฎหมายตราสามดวง เป็นต้น ปัจจุบันยังใช้จุลศักราชในเอกสารบางประเภท เช่น ตำราโหราศาสตร์

๔.รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.)

รัตนโกสินทร์ศกเป็นการนับศักราชที่ใช้เฉพาะประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ โดยเริ่มนับร.ศ.๑เมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มใช้การนับแบบร.ศ. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนไปใช้การนับพุทธศักราชจนถึงปัจจุบัน หลักฐานที่ใช้รัตนโกสินทร์ศก เช่น พระราชหัตเลขารัชกาลที่ ๕ และจดหมายพระราชกรณียกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อหา ประวัติศาสตร์ ม.1  จาก  สหวิชา.คอม

Wednesday, July 18, 2012

ความสำคัญของเวลา : ประวัติศาสตร์ ม.1

ความสำคัญของเวลา


วันเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา ซึ่งเวลาหมายถึง ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่และเป็นอยู่ โดยมีการกำหนดขึ้น  วัน  เวลา  ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน  เดือน  ปีใด  เหตุการณ์ใดเกิดก่อน  เหตุการณ์ใดเกิดหลัง  เหตุการณ์ที่เกิดขิ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน  มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร  และวัน  เวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร


สามารถสรุปได้ดังนี้


1.  เวลาจะบอกการเกิดขึ้นและสิ้นสุดของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
2.  เวลาดำเนินไปสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
3.  เวลาเป็นสิ่งนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้
4.  เวลาเป็นสิ่งที่ดำเนินต่อไปไม่หยุดนิ่ง


เนื้อหา  ประวัติศาสตร์ ม.1