Friday, August 31, 2012

ลักษณะภูมิอากาศทวีปออสเตรเลีย : สังคมศึกษา ม.1


ลักษณะภูมิอากาศทวีปออสเตรเลีย


               1. ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นชายฝั่งทะเล (Tropical Maritime Climate) ได้แก่พื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ของรัฐควีนส์แลนด์ มีอุณหภูมิสูง และฝนตกชุกในฤดูร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตร้อน
                2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna Climate) ได้แก่พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ มีอากาศร้อนและฝนตกปานกลางในฤดูร้อน และแห้งแล้งในฤดูหนาว พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าเรียกว่า ทุ่งหญ้าสะวันนา และป่าโปร่ง
                3. ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (Semi-desert Climate) ได้แก่ ดินแดนรอบๆ ทะเลทราย ทั้งทางเหนือ ตะวันออกและทางใต้ พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้าสั้นๆ เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์
                4. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ตอนกลางของประเทศครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศ ได้แก่ ทะเลทรายเกรตแซนดี  ทะเลทรายกิบสัน  ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย และทะเลทรายซิมป์สัน
                5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) ได้แก่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้และชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ในฤดูหนาวและร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน
                6. ภูมิอากาศอบอุ่นชื้น  เป็นเขตที่มีอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์และบางส่วนของรัฐนิวเซาท์เวลส์ พืชพรรณธรรมชาติ ป่าไม้ผลัดใบ
                7. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก เป็นเขตที่อากาศอบอุ่น ฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างหนาว มีฝนตกตลอดปี ได้แก่ ชายฝั่งตอนใต้ของนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิตอเรีย และเกาะแทสมาเนีย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าผสม ระหว่างป่าไม้ผลัดใบกับป่าสน

สังคมศึกษา ม.1

Wednesday, August 29, 2012

ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศออสเตรเลีย


ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศออสเตรเลีย


            1. ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยมีเส้นทรอออฟแคปริคอร์นลากผ่านกลางของประเทศ ทางตอนเหนือมีอากาศร้อน และทางตอนใต้มีอากาศอบอุ่น
            2. ทิศทางลม
                ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียตลอดทั้งปี ทำให้มีฝนตกชุกตามบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ไม่มีฤดูแล้ง
                ลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีฝนตกในฤดูหนาว และแห้งแล้งในฤดูร้อน
               ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดจากทะเลติมอร์และทะเลอาราฟูราเข้าสู่ชายฝั่งทางตอนเหนือ มีความชุ่มชื่นและแห้งแล้งในฤดูหนาว
           3. ลักษณะภูมิประเทศ ทางตะวันตก มีที่ราบสูงและภูเขาวางตัวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเล ทางตะวันออกมีแนวเทือกเขาเกรตดิไวดิง เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นจากทะเลทางตะวันออก ทำให้ดินแดนภายในตอนกลางประเทศมีอากาศแห้งแล้ง
           4. ความใกล้ไกลจากทะเล เนื่องจากออสเตรเลียมีพื้นที่กว้างมาก ทำให้พื้นที่ภายในอยู่ห่างไกลจากทะเลมาก อิทธิพลจากความชื้นจากทะเลเข้าไปไม่ถึง ทำให้อากาศแห้งแล้ง
           5. กระแสน้ำ มีกระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตกไหลเลียบทางฝั่งชายตะวันตก ขึ้นไปทางเหนือ ทำให้ชายฝั่งทางตอนเหนือมีอุณหภูมิร้อนลดลง

ภูมิศาสตร์ ม.1
ข้อมูลจาก เนื้อหาทวีปออเสเตรเลีย

Monday, August 27, 2012

ลักษณะภูมิประเทศทวีปออสเตรเลีย ม.1

ลักษณะภูมิประเทศทวีปออสเตรเลีย

แบ่งออกเป็น 3 เขต ดังนี้

1. เขตที่สูงด้านตะวันออก (Eastern  Highland) จะที่มีเทือกเขาสูงทอดแนวยาวจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ขนานกับชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่แหลมยอร์กจนถึงช่องแคบบาสส์ เรียกว่า เทือกเขาเกรตดิไวดิง (Great Dividing Range) เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลียมียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาคอสซิอัสโก (Kosciusko) สูงประมาณ 2,198 เมตร เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเมอร์รีย์-ดาร์ลิง ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ที่วางตัวขนานกับชายฝั่งเรียกว่า เกรดแบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) วางตัวขนานและห่างจากชายฝั่งประมาณ  40-200  กิโลเมิตร และยาวประมาณ  2,000  กิโลเมตร



 2. เขตที่ราบภาคกลาง (Central Plain) มีพื้นที่ตั้งแต่อ่าวคาร์เปนตาเรียนทางตอนเหนือ ลงมาถึงอ่าวสเปนเซอร์และเกรตออสเตรเลียนไบต์ มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำ มีพื้นที่ ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นแหล่งที่มีน้ำบาดาลมาที่สุดของประเทศ  แบ่งออกเป็น 4 เขต
           2.1 เขตที่ราบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบต์ (Great Australina Bight Plan) เป็นที่ราบที่มีอากาศแห้งแล้งกันดาร เรียกว่า ที่ราบนัลลาบอร์ (Nullabor Plain)  ภาษาพื้นเมือง แปลว่า ที่ราบที่ไม่มีต้นอยู่เลย
          2.2 ที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์รีย์และดาร์ลิง (Murray and Dariong Basin) มีแม่น้ำดาร์ลิง เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของออสเตรเลีย ประมาณ 3,700 กิโลเมตรและแม่น้ำเมอร์รีย์และไหลผ่าน ไหลลงสู่อ่าวเอนเคาน์เตอร์ และเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ
          2.3 ที่ราบรอบทะเลสาบแอร์ (Lake Ayre  Basin) เป็นเขตพื้นที่ราบรอบทะเลแอร์ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปออสเตรเลีย และเป็นที่ราบแล้งแห้งเป็นทะเลทราย  เช่น  ทะเลทรายซิมป์สันและทะเลทรายสจ๊วด
          2.4 ที่ราบรอบอ่าวคาร์เปนตาเรีย (Gulf of Carpentaria Plain)  เป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ทางตอนเหนือของประเทศ

 3. เขตที่ราบสูงภาคตะวันตก (Western Plateau) เป็นเขตที่สูงภาคตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าครึ่งทวีป ประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งแคบๆ และที่สูงเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ลักษณะพื้นที่ทางด้านตะวันตกและลาดเทไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นดินแดนภายในทวีป มีเทือกเขาที่สำคัญ เช่น เทือกเขาโรบินสัน เทือกเขาดาร์ลิง เทือกเขาแม็กโนนัลล์   เทือกเขามัสเกรฟ  เทือกเขาคิมเบอร์เลย์  นอกจากนี้ยังมีภูมิประเทศที่เป็นเขตทะเลทรายอยู่หลายแห่ง  เช่น  ทะเลทรายเกรตแซนดี  ทะเลทรายกิบสัน  ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย

ภูมิศาสตร์ ม.1

Saturday, August 25, 2012

ทวีปออสเตรเลีย : ที่ตั้งและอาณาเขต

ทวีปออสเตรเลีย



ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ในเขตซีกโลกใต้และอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย  ระหว่างละติจูดที่ 10 องศา  41 ลิปดาใต้ ถึง 43 องศา 39 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 113 องศา 9 ลิปดาตะวันออก ถึง 153 องศา 39 ลิปดาตะวันออก

อาณาเขต


ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลติมอร์ ในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอาราฟูรา ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลคอรัลและทะเลแทสมันในมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย



Friday, August 17, 2012

ภูมิศาสตร์ทวีปออสเตเรีย : สังคมศึกษา ม.1




แผนที่ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย

สังคมศึกษา ม.1